" ดาวเนปจูน "
ดาวเนปจูน หรือชื่อไทยว่า ดาวสมุทร หรือ ดาวเกตุ คือดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ ตัวดาวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมัน ดาวเนปจูนถูกค้นพบ หลังจากการค้นพบดาวยูเรนัส โดยนักดาราศาสตร์พบว่าวงโคจรของดาวยูเรนัสมิได้เป็นไปตามกฏของนิวตัน จึงทำให้เกิดการพยากรณ์ว่า จะต้องมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่อยู่ไกลถัดออกไปมารบกวนวงโคจรของดาวยูเรนัส เนปจูนถูกเยี่ยมเยือนโดยยานอวกาศเพียงลำเดียวคือ วอยเอเจอร์ 2 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2532, เกือบทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับดาวเนปจูน มาจากการเยี่ยมเยือนในครั้งนี้ เนื่องจากวงโคจรของ ดาวพลูโต เป็นวงรีมาก ในบางครั้งมันจะตัดกับวงโคจรของเนปจูน ทำให้เนปจูนเป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ไกลที่สุดในบางปีดาวเนปจูนมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับดาวยูเรนัส เช่น รูปแบบของน้ำแข็ง มีไฮโดรเจน 15% และฮีเลียมจำนวนเล็กน้อย ดาวเนปจูนแตกต่างกับดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ ตรงที่ไม่มีการแบ่งชั้นภายในที่ชัดเจน เรารู้เพียงว่ามีแกนกลางที่มีขนาดเล็ก (มีมวลประมาณเท่าโลก) ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงินเช่นเดียวกับดาวยูเรนัส เพราะในชั้นบรรยากาศมีก๊าซมีเทน เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย ในช่วงเวลาที่ยานวอยเอเจอร์เข้าใกล้ดาวเนปจูน ได้ภาพถ่ายที่มสิ่งสะดุดตาคือ จุดดำใหญ่ (Great dark spot) ทางซีกใต้ของดาว มีขนาดใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี (ประมาณเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก) จุดดำใหญ่นี้เป็นศูนย์กลางพายุเช่นเดียวกับจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัส มีทิศทางกระแสลมพัดไปทางตะวันตก ด้วยความเร็ว 300 เมตร/วินาที
หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน คนเริ่มมองหาวงแหวนรอบๆดาวเนปจูนเขาใช้กล้องโทรทัศน์มองดูดาวเนปจูนเมื่อมันเคลื่อนใกล้ดาวฤกษ์ ถ้าดาวเนปจูนมีวงแหวนมันก็จะผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์ วงแหวนแต่ละวงจะตัดแสงของดาวฤกษ์ชั่วขณะหนึ่ง ในปี 1981 นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้เห็นการลิบหรื่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่นั้น คนบางคนได้เห็นการลิบหรื่แต่บางคนไม่เห็นอะไรเลย บางมีดาวเนปจูนอาจมีวงแหวนที่เป็นชิ้นส่วนที่แตกออกเป็นชิ้นๆมันอาจมีส่วนโค้งสั้นๆ แทนที่จะเห็นวงแหวนทั้งวง ส่วนโค้งจะหมุนรอบดาวเนปจูน
นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารสองดวงที่หมุนรอบดาวเนปจูน ดาวดวงหนึ่งมีขนาดเล็กชื่อว่า Neried ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 300 ไมล์ และหมุนรอบห่างจากดาวเนปจูน 3,475,000 ไมล์ ดาวบริวารดวงอื่นๆของดาวเนปจูนคือดาว Triton มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,100 ไมล์เป็นดาวบริวารที่ใหญ่เป็นที่สี่ ดาว Triton อาจมีบรรยากาศ มันอาจมีมหาสมุทรมีเธนและไนโตรเจนมันหมุนรอบดาวเนปจูนโดยห่างจากดาวเนปจูนเป็นระยะทาง 220,625 ไมล์ ดาว Triton หมุนรอบดาวเนปจูนในทิศทางตรงกันข้ามจากดาวบริวารส่วนใหญ่ มันยังเคลื่อนไหวเข้าไกล้ดาวเนปจูนในเวลา 10 ล้าน ถึง 100 ล้านปี มันอาจปะทะกับดาวเนปจูนหรือมันอาจแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆและก่อตัวเป็นรูปวงแหวนขนาดกว้างล้อมรอบดาวเนปจูน หรือ ดวงจันทร์บริวาร
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 8 ดวง โดยมีดวงจันทร์ชื่อ "ทายตัน" (Triton) เป็นบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ในบรรดาดวงจันทร์บริวารทั้ง 8 ดวง ทายตันมีวงโคจรที่สวนทางกับการหมุนรอบตัวเองของดาวเนปจูน นักดาราศาสตร์คาดว่า ทายตันจะโคจรเข้าใกล้ดาวเนปจูนเรื่อยๆ และพุ่งเข้าชนดาวเนปจูนในที่สุด (อาจใช้เวลาถึงเกือบ 100 ล้านปี)
ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนประกอบด้วยแก๊สไฮโดรเจน 79 เปอร์เซนต์ ฮีเลียม 18 เปอร์เซนต์ แก๊สมีเทนและแก๊สอื่นๆอีก 3 เปอร์เซนต์ และแก๊สมีเทนในชั้นบรรยากาศนี่เองที่เป็นตัวดูดกลืนแสงสีแดงพร้อมทั้งสะท้อนแสงสีน้ำเงินทำให้เราสังเกตุเห็นดาวเนปจูนปรากฏเป็นสีน้ำเงิน ชั้นบรรยากาศของดาวเนปจูนมีความแปรปรวนสูงมีพายุขนาดใหญ่และกระแสลมที่รุนแรงมาก โดยอาจมีกระแสลมแรงถึง 2160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อุณหภูมิบนพื้นผิวของดาวเนปจูนมีความหนาวเย็นมากคือมีอุณหภูมิโดยเฉลี่ย -200 องศาเซลเซียส เนื่องจากว่าดาวเนปจูนอยู่ห่างไกลจากดวงอาทิตย์มาก ความร้อนจากดวงอาทิตย์จึงมีผลต่อดาวเนปจูนน้อยมาก ความร้อนส่วนใหญ่ที่มีผลต่อบรรยากาศบนดาวเนปจูนจึงมาจากความร้อนภายในแกนของดาวเนปจูนเอง
วงแหวนของดาวเนปจูน มีลักษณะมีความสว่างไม่มากนัก เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็ก (1 ไมโครเมตร = 10-6 เมตร ) จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร เช่นเดียวกับวงแหวนของดาวพฤหัสบดีและดาวยูเรนัส ซึ่งนักดาราศาสตร์สำรวจพบระบบวงแหวนของดาวเนปจูนเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษที่ 60 และในปี 1989 ยานวอยเอเจอร์ 2 ได้บินผ่านเข้าไปใกล้ดาวเนปจูนและบันทึกภาพส่งกลับมายังโลก ทำให้นักดาราศาสตร์พบว่าดาวเนปจูนมีวงแหวนล้อมรอบด้วยกันถึง 5 วง วงแหวนของดาวเนปจูน ได้แก่ วงแหวนแอดัมส์ (Adams), วงแหวนอราโก (Arago), วงแหวนแลสเซลล์ (Lassell), วงแหวนเลอ แวรีเย (Le Verrier) และวงแหวนกัลเลอ (Galle) นอกจากนั้นยังมีวงแหวนที่จางมากๆ และยังไม่มีชื่ออีก 1 วง ที่อยู่ในวงโคจรเดียวกันกับดวงจันทร์แกลาเทีย (Galatea) และยังมีดวงจันทร์บริวารของดาวเนปจูนอีก 3 ดวง คือ เนแอด (Naiad), ทาแลสซา (Thalassa) และดิสพีนา (Despina) ที่มีวงโคจรอยู่ภายในระบบวงแหวนเช่นเดียวกัน จากดวงจันทร์บริวารทั้งสิ้น 13 ดวงของดาวเนปจูนที่พบแล้วในตอนนี้
วงแหวนกัลเลอ (Galle) เป็นวงแหวนชั้นในสุดของดาวเนปจูน โดยชื่อ "Galle" มาจาก โยฮันน์ กอทท์ฟรีด กัลเลอ เพื่อเป็นการให้เกียรติ วงแหวนกัลเลอมีรัศมี 40,900 - 42,900 กม. ความกว้าง 2,000 กม. และมีปริมาณเศษฝุ่น 40 - 70%
วงแหวนเลอ แวรีเย
วงแหวนเลอ แวรีเย (Le Verrier)
เป็นวงแหวนชั้นที่สองของดาวเนปจูน ลักษณะเป็นวงแหวนที่แคบ มีรัศมี 53,200 กม.ความกว้าง 113 กม.และมีปริมาณเศษฝุ่น 40-70%
วงแหวนแลสเซลล์
วงแหวนแลสเซลล์ (Lassell) เป็นวงแหวนชั้นที่สามของดาวเนปจูน มีรัศมี 53,200-57,200 กม. ความกว้าง 4,000 กม. และมีปริมาณเศษฝุ่น 20-40%
วงแหวนอราโก
วงแหวนอราโก(Arago)เป็นวงแหวนชั้นที่สี่ของดาวเนปจูน มีรัศมี 57,200 กม. และมีความกว้างมากกว่า 100 กม.
วงแหวนแอดัมส์
วงแหวนแอดัมส์ (Adams) เป็นวงแหวนชั้นนอกสุดของดาวเนปจูนที่ถูกค้นพบโดย ยานวอยเอเจอร์ 2 ในปี ค.ศ. 1989 โดยซึ่งได้ส่งภาพวงแหวนนี้ตรงส่วนอาร์ค มีลักษณะบิดโค้ง และประกอบด้วยอาร์ค 5 อาร์ค ชื่อ ลิเบอร์ตี้ (Liberté), อีควอลิตี้ 1 (Égalité 1),อีควอลิตี้ 2(Égalité 2), Courage และฟราเทอนีตี้ (Fraternité) วงแหวนแอดัมส์มีรัศมี 62,932 กม. ความกว้าง 15-50 มีปริมาณเศษฝุ่น 20-40% และมีปริมาณเศษฝุ่นในอาร์ค 40-70% โดยชื่อ "Adams" มาจาก จอห์น คูช แอดัมส์ เพื่อเป็นการให้เกียรติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น